คำขวัญตำบลบ้านชัย

ตำนานเมืองเก่าครบุรี ถิ่นเชื้อคนดีมีคุณธรรม อุตสาหกรรมเกลือเม็ดดี สืบสานประเพณีโบราณ สุขสำราญใต้ร่มไทร เที่ยวชมหนองน้ำใหญ่ดงไพรวัลย์

วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2566

แหล่งเรียรรู้ หมวดภูมิปัญญาหรือปราชญ์ชาวบ้าน/ด้านการจักสาน

 แหล่งเรียรรู้ หมวดภูมิปัญญาหรือปราชญ์ชาวบ้าน/ด้านการจักสาน

ผู้ดูแลแหล่งเรียนรู้ นายฉลอง พิมพ์ศรี
ที่ตั้ง  ๗๔ หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านชัย อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ๔๑๑๙๐

 ความเป็นมาของงานจักสาน

                การทำเครื่องจักสานในประเทศไทย มีการทำสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์นักโบราณคดีได้พบหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการทำเครื่องจักสานในยุคหินใหม่ที่บริเวณถ้ำแห่งหนึ่งในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี  ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่เป็นลายขัดสองเส้นประมาณว่ามีอายุราว 4,000 ปีมาแล้ว

                การทำเครื่องจักสานยุคแรก ๆ มนุษย์จะนำวัตถุดิบจากธรรมชาติเท่าที่จะหาได้ใกล้ตัวมาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การนำใบไม้ กิ่งไม้ ต้นไม้ประเภทเถานำมาสานมาขัดเป็นรูปทรงง่ายๆ  เพื่อใช้เป็นภาชนะหรือมาสานขัดกันเป็นแผ่นเพื่อใช้สำหรับปูรองนั่ง รองนอน ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นเครื่องจักสานที่มีความประณีตในยุคต่อๆ มา เครื่องจักสานเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มนุษย์คิดวิธีการต่างๆ  ขึ้นเพื่อใช้สร้างเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันด้วยวิธีการสอดขัดและสานกันของวัสดุ ที่เป็นเส้นเป็นริ้ว โดยสร้างรูปทรงของสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้นตามความประสงค์ในการใช้สอยตามสภาพภูมิศาสตร์ ประสานกับขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อศาสนาและวัสดุในท้องถิ่นนั้นๆ

                การเรียกเครื่องจักสานว่า “จักสาน” นั้น เป็นคำที่เรียกขึ้นตามวิธีการที่ทำให้เกิดเครื่องจักสาน เพราะเครื่องจักสานต่างๆ  จะสำเร็จเป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ได้นั้นต้องผ่านกระบวนการ ดังนี้

        1. การจัก คือการนำวัสดุมาทำให้เป็นเส้น เป็นแฉก หรือเป็นริ้วเพื่อความสะดวกในการสาน  ลักษณะของการจักโดยทั่วไปนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของวัสดุแต่ละชนิดซึ่งจะมีวิธีการเฉพาะที่แตกต่างกันไป  หรือบางครั้งการจักไม้ไผ่หรือหวายมักจะเรียกว่า “ตอก” ซึ่งการจักถือได้ว่าเป็นขั้นตอนของการเตรียมวัสดุในการทำเครื่องจักสานขั้นแรก

        2. การสาน เป็นกระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่นำวัสดุธรรมชาติมาทำประโยชน์โดยใช้ความคิดและฝีมือมนุษย์เป็นหลัก การสานลวดลายจะสานลายใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้สอย  ซึ่งมีด้วยกัน 3 วิธี คือ – การสานด้วยวิธีสอดขัด – การสานด้วยวิธีการสอดขัดด้วยเส้นทแยง – การสานด้วยวิธีขดเป็นวง

  3. การถัก เป็นกระบวนการประกอบที่ช่วยให้การทำครื่องจักสานสมบูรณ์ การถักเครื่องจักสาน เช่น  การถักขอบของภาชนะจักสานไม้ไผ่ การถักหูภาชนะ เป็นต้น  การถักส่วนมากจะเป็นการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างภายนอก เช่น ขอบ ขา ปาก ก้น ของเครื่องจักสาน และเป็นการเพิ่มความสวยงามไปด้วย








       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น