คำขวัญตำบลบ้านชัย

ตำนานเมืองเก่าครบุรี ถิ่นเชื้อคนดีมีคุณธรรม อุตสาหกรรมเกลือเม็ดดี สืบสานประเพณีโบราณ สุขสำราญใต้ร่มไทร เที่ยวชมหนองน้ำใหญ่ดงไพรวัลย์

วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

แหล่งเรียนรู้ /หมวดโบราณสถานโบราณวัตถุวัดป่าศรีสุมังค์

 แหล่งเรียนรู้ /หมวดโบราณสถานโบราณวัตถุ
วัดป่าศรีสุมังค์
ผู้ดูแลแหล่งเรียนรู้ นายภาวิน  แสนเมือง
ที่ตั้ง หมู่ที่ ๓ บ้านกล้วย ต.บ้านชัย อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี ๔๑๑๙๐

              ในยุคที่ความเจริญทางเทคโนโลยีดำเนินไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น  เครื่องใช้บางอย่างซื้อมาได้เพียงไม่กี่เดือนก็เริ่มจะกลายเป็นของเก่า เพราะมีสินค้ารุ่นใหม่ออกมาแทนที่ อย่างเช่นโทรศัพท์พึ่งซื้อมาใช้งานได้เพียงไม่กี่เดือนก็มีรุ่นใหม่ออกมาแทนที่แล้ว ทั้งๆที่เครื่องเก่าก็ยังพอใช้งานได้ แต่กลับกลายเป็นสิ่งที่กำลังล้าสมัย ในขณะที่สิ่งของบางอย่างยิ่งมีอายุมาก ยิ่งเก่าแก่มากเท่าไหร่กลับยิ่งมีคุณค่า เชนโบราณวัตถุโบราณสถานเป็นต้นยิ่งเก่ายิ่งมีคุณค่า บางอย่างประเมินค่ามิได้ ช่วงนี้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ได้จัดนิทรรศการแสดงโบราณวัตถุขึ้น ระหว่างเดือนธันวาคม 2560 -เดือนมีนาคม 2561 มีการจัดแสดงนิทรรศการวิถีแห่งศรัทธาจากศิลป์ทัศน์ญี่ปุ่น เป็นงานที่น่าสนใจช่วงหลังๆมานี้เริ่มให้ความสนใจกับการชมโบราณวัตถุ โบราณสถานมากขึ้น ไม่รู้ว่าเพราะอายุมากขึ้นหรือว่าเพราะว่าเริ่มเดินทางไกลไปมาหลายที่ สิ่งที่พบเห็นและมักจะเป็นสิ่งที่เชิดชูและสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของชาติบ้านเมืองมักจะเป็นวัตถุโบราณ ยิ่งมีอายุมากเท่าไหร่ยิ่งมีคุณค่ามาก และราคาก็มากขึ้นตามไปด้วย บางครั้งเดินทางไกลหลายพันไมล์เพื่อต้องการจะไปดูวัตถุโบราณ ซึ่งเป็นของหายาก มีคุณค่าทางศิลปะสะท้อนถึงวัฒนธรรมของชาติในอดีต คนเริ่มแก่ก็ยิ่งชอบของเก่า คนแก่จึงเป็นเหมือนวัตถุโบราณในสังคมแห่งความเจริญทางเทคโนโลยี

                    ประเทศไทยหากนับโดยความเป็นประเทศชาติน่าจะเริ่มต้นที่อาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอายุประมาณ 700 กว่าปีมาแล้ว แต่ทว่าหากจะนับถึงความเป็นพื้นที่โดยไม่มีความเป็นชาติเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ก็ต้องมีอายุหลายพันปี เช่นแหล่งโบราณบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี มีอายุเจ็ดพันปี ยังมีอีกหลายแห่งที่มีการสร้างศิลปะไว้ตั้งแต่อาณาจักรทวารวดี ศรีวิชัย เชียงแสน เจนละ ลพบุรี เป็นต้น นั่นก็มีอายุหลายพันปี โบราณสถาน โบราณวัตถุ ยังมีปรากฏหลักฐานให้สืบค้นได้












วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2566

แหล่งเรียนรู้ หมวดส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ / บ้านรักการอ่าน

 แหล่งเรียนรู้ หมวดส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ / บ้านรักการอ่าน

ผู้ดูแลแหล่งเรียนรู้ นางสำเนียง โพธิ์ผาราช
ที่ตั้ง หมู่ที่ ๕ ตำบลบ้านชัย อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ๔๑๑๙๐

         แนวคิดในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน การอ่านหนังสือเป็นการพัฒนาตนเองและเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการพัฒนาคนและพัฒนาสังคม การอ่านหนังสือของคนไทยเป็นกิจกรรมที่ไม่แพร่หลายแม้ในหมู่ผู้รู้หนังสือแล้ว โดยเฉพาะการอ่านหนังสือที่ดีและมีสาระยิ่งมีน้อยขึ้นไปอีก สาเหตุมีอยู่หลายประการนับตั้งแต่การขาดแคลนหนังสือที่ดีและตรงกับความต้องการของผู้อ่าน การขาดแคลนแหล่งหนังสือที่จะยืมอ่านได้ ไปจนถึงการดึงความสนใจและการแย่งเวลาของสื่ออื่น ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ฯลฯ รวมทั้งขาดแรงจูงใจ และการชักจูง การกระตุ้น และมีนิสัยรักการอ่านทั้งในและนอกโรงเรียน เมื่อเทียบกับความเพลิดเพลินและการได้ฟังได้รู้เห็นเรื่องต่าง ๆ จากโทรทัศน์และวิทยุแล้ว การอ่านหนังสือเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวต้องใช้ความพยายามมากกว่าและต้องมีทักษะในการอ่าน ถ้าจะให้การอ่านหนังเกิดเป็นนิสัยจำเป็นต้องมีการปลูกฝังและชักชวนให้เกิดความสนใจการอ่านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักอ่าน ซึ่งควรมีลักษณะ ดังนี้
1. เร้าใจให้เกิดความยากอ่านหนังสือ
2. ให้เกิดความพยายามที่จะอ่านเพื่อจะได้รู้เรื่องที่น่ารู้ที่มีอยู่ในหนังสือ และน่าสนุกตามกิจกรรมที่จัดขึ้น
3. แนะนำ กระตุ้นให้อยากรู้อยากเห็นเรื่องน่ารู้ต่าง ๆ เกิดความรอบรู้ คิดกว้าง และมีการอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัย
4. สร้างบรรยากาศที่น่าอ่าน รวมทั้งให้มีวัสดุการอ่าน มีแหล่งการอ่านที่เหมาะสมและเพียงพอ









แหล่งเรียนรู้ หมวดศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี/หมอสูติหมอพาร์หมประจำหมู่บ้าน

 แหล่งเรียนรู้ หมวดศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี/หมอสูติหมอพาร์หม

ผู้ดูแลแหล่งเรียนรู้ นายสมเด็จ  เมืองศรี 
ที่ตั้ง ๑๕ หมู่ที่ ๑ บ้านชัย ตำบลบ้านชัย อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ๔๑๑๙๐

"พราหมณ์" หรือที่คนอีสานเรียกกันว่า "หมอพราหมณ์" เปรียบเสมือนผู้นำทางจิตวิญญาณ และผู้นำทางพิธีกรรมเพื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆ เสริมความเป็นสิริมงคล และเชื่อมผู้คนในชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียว สัปดาห์นี้ที่นี่บ้านเรา โดยสื่อสร้างสุขอุบลราชธานี จะพาไปติดตามชีวิตหมอพราหมณ์พื้นบ้าน จาก อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี ที่เรียกได้ว่าอาจจะเป็นหมอพราหมณ์รุ่นสุดท้ายของหมู่บ้านก็เป็นได้ เมื่อปัจจุบันยังมองไม่ออกว่าจะมีหมอพราหมณ์คนใดเข้ามามาสืบทอดบทบาทเหล่านี้ต่อในอนาคต เมื่อหากไร้ผู้ซึ่งสืบทอดการเป็นหมอพราหมณ์แล้วในวันข้างหน้าประเพณีวัฒนธรรมโดยเฉพาะของชาวอีสานจะดำเนินต่อไปอย่างไร..







แหล่งเรียรรู้ หมวดภูมิปัญญาหรือปราชญ์ชาวบ้าน/ด้านการจักสาน

 แหล่งเรียรรู้ หมวดภูมิปัญญาหรือปราชญ์ชาวบ้าน/ด้านการจักสาน

ผู้ดูแลแหล่งเรียนรู้ นายฉลอง พิมพ์ศรี
ที่ตั้ง  ๗๔ หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านชัย อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ๔๑๑๙๐

 ความเป็นมาของงานจักสาน

                การทำเครื่องจักสานในประเทศไทย มีการทำสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์นักโบราณคดีได้พบหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการทำเครื่องจักสานในยุคหินใหม่ที่บริเวณถ้ำแห่งหนึ่งในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี  ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่เป็นลายขัดสองเส้นประมาณว่ามีอายุราว 4,000 ปีมาแล้ว

                การทำเครื่องจักสานยุคแรก ๆ มนุษย์จะนำวัตถุดิบจากธรรมชาติเท่าที่จะหาได้ใกล้ตัวมาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การนำใบไม้ กิ่งไม้ ต้นไม้ประเภทเถานำมาสานมาขัดเป็นรูปทรงง่ายๆ  เพื่อใช้เป็นภาชนะหรือมาสานขัดกันเป็นแผ่นเพื่อใช้สำหรับปูรองนั่ง รองนอน ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นเครื่องจักสานที่มีความประณีตในยุคต่อๆ มา เครื่องจักสานเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มนุษย์คิดวิธีการต่างๆ  ขึ้นเพื่อใช้สร้างเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันด้วยวิธีการสอดขัดและสานกันของวัสดุ ที่เป็นเส้นเป็นริ้ว โดยสร้างรูปทรงของสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้นตามความประสงค์ในการใช้สอยตามสภาพภูมิศาสตร์ ประสานกับขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อศาสนาและวัสดุในท้องถิ่นนั้นๆ

                การเรียกเครื่องจักสานว่า “จักสาน” นั้น เป็นคำที่เรียกขึ้นตามวิธีการที่ทำให้เกิดเครื่องจักสาน เพราะเครื่องจักสานต่างๆ  จะสำเร็จเป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ได้นั้นต้องผ่านกระบวนการ ดังนี้

        1. การจัก คือการนำวัสดุมาทำให้เป็นเส้น เป็นแฉก หรือเป็นริ้วเพื่อความสะดวกในการสาน  ลักษณะของการจักโดยทั่วไปนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของวัสดุแต่ละชนิดซึ่งจะมีวิธีการเฉพาะที่แตกต่างกันไป  หรือบางครั้งการจักไม้ไผ่หรือหวายมักจะเรียกว่า “ตอก” ซึ่งการจักถือได้ว่าเป็นขั้นตอนของการเตรียมวัสดุในการทำเครื่องจักสานขั้นแรก

        2. การสาน เป็นกระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่นำวัสดุธรรมชาติมาทำประโยชน์โดยใช้ความคิดและฝีมือมนุษย์เป็นหลัก การสานลวดลายจะสานลายใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้สอย  ซึ่งมีด้วยกัน 3 วิธี คือ – การสานด้วยวิธีสอดขัด – การสานด้วยวิธีการสอดขัดด้วยเส้นทแยง – การสานด้วยวิธีขดเป็นวง

  3. การถัก เป็นกระบวนการประกอบที่ช่วยให้การทำครื่องจักสานสมบูรณ์ การถักเครื่องจักสาน เช่น  การถักขอบของภาชนะจักสานไม้ไผ่ การถักหูภาชนะ เป็นต้น  การถักส่วนมากจะเป็นการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างภายนอก เช่น ขอบ ขา ปาก ก้น ของเครื่องจักสาน และเป็นการเพิ่มความสวยงามไปด้วย








       

แหล่งเรียนรู้ หมวดส่งเสริมอาชีพ/การทำนาเกลือ

 แหล่งเรียนรู้ หมวดส่งเสริมอาชีพ/การทำนาเกลือ

ผู้ดูแล  นางประนอม  สีพิกา
ที่ตั้ง หมู่ที่ ๒ บ้านทุ่ง ตำบลบ้านชัย อำเภอบ้านดุง 
จังหวัดอุดรธานี ๔๑๑๙๐
เบอร์โทร ๐๖๒-๒๗๙๕๖๘๖

     วิธีทำเกลือสินเธาว์อีสานแบบโบราณ คือต้มน้ำละลายดินเอียด (ดินเกลือสีขาวที่ขูดจากหน้าดินเค็ม) กรองด้วยฟางและหญ้าจนใสสะอาด กระทั่งแห้งระเหิดเป็นเกลือบริสุทธิ์รสชาติดีมากๆ นั้น ปัจจุบันเหลือน้อยเต็มที คงเพราะเนื่องจากแรงงานและเวลาที่ใช้ไปไม่คุ้มกับปริมาณเกลือที่ได้มา ไหนยังจะเรื่องคุณภาพลิ้นของผู้บริโภค ซึ่งทุกวันนี้คนกินต่างมีลิ้นชาด้านจนแทบแยกแยะรสเกลือดีเกลือเลวไม่ออกกันอยู่แล้ว

     เกลือสินเธาว์ที่ขายกันในท้องตลาดปัจจุบันมาจากทั้งของโรงงานใหญ่ๆ อย่างโรงเกลือพิมาย นครราชสีมา ซึ่งใช้วิธีอัดน้ำด้วยแรงดันสูงลงไปละลายโดมเกลือใต้ดินลึก ร่วม 100 เมตร แล้วจึงสูบขึ้นมาตากแบบนาเกลือทะเล ทั้งจากโรงเรือนย่อยๆ ที่สูบน้ำเกลือขึ้นมาต้มหรือตาก แบบที่บ้านดุง ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อทำในพื้นที่กว้าง ก็มีความสุ่มเสี่ยงต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม ดังที่เคยเกิดปัญหาที่อำเภอบรบือ มหาสารคาม มาตั้งแต่ พ.ศ. 2514 ทำให้พื้นที่ต้นลำน้ำเสียวต่อลำน้ำมูลในเวลานั้นเกิดมลภาวะอย่างหนัก เกิดการลุกฮือประท้วงของกลุ่มชาวบ้านในหลายพื้นที่ จนรัฐบาลต้องสั่งปิดกิจการทั้งหมดในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523 มันเลยส่งผลให้การผลิตเกลือสินเธาว์แบบสูบน้ำนี้เริ่มกระจายตัวออกไปทำลายสภาพแวดล้อม ณ แหล่งอื่นๆ อีก เช่น ที่อำเภอกันทรวิชัย มหาสารคาม, อำเภอจัตุรัส ชัยภูมิ, อำเภอบ้านม่วง – วานรนิวาส สกลนคร และที่บ้านดุงแห่งนี้ การต่อรอง ปรับตัว พัฒนาวิธีการผลิต ตลอดจนการเข้ามีส่วนร่วมของท้องถิ่นต่อกิจกรรมที่ทั้งส่งผลกระทบและทั้งเพิ่มสัดส่วนการจ้างงานอย่างนาเกลือสินเธาว์อีสานนี้ คงเป็นเรื่องยาวซึ่งยังต้องดำเนินการแก้ไขกันต่อไป ตราบใดที่ความเค็มของเกลือเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในโลกอุตสาหกรรมสมัยใหม่และแน่นอนว่า ควรเป็นไปด้วยความยุติธรรมต่อทุกภาคส่วนเสมอกันครับ










วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

แหล่งเรียนรู้ด้านการส่งเสริมอาชีพ / การทอผ้าพันคอ

 แหล่งเรียนรู้ด้านการส่งเสริมอาชีพ / การทอผ้าพันคอ

แหล่งเรียนรู้ด้านการส่งเสริมอาชีพ / การทอผ้าพันคอ บ้านโนนสีทอง หมู่ 7
 ตำบลบ้านชัยอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี 

พิกัด


แบบทดสอบ


ขั้นตอนการทอผ้าพันคอ



















วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566

 โครงการพัฒนาผู้เรียน
 ค่ายติวเข้มเติมเต็มความรู้ก่อนสอบ N-NET 
ภาคเรียนที่ 2/2565  ระหว่างวันที่ 25-26 มกราคม 2566
ณ กศน.ตำบลบ้านชัย