แนวคิดในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน การอ่านหนังสือเป็นการพัฒนาตนเองและเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการพัฒนาคนและพัฒนาสังคม การอ่านหนังสือของคนไทยเป็นกิจกรรมที่ไม่แพร่หลายแม้ในหมู่ผู้รู้หนังสือแล้ว โดยเฉพาะการอ่านหนังสือที่ดีและมีสาระยิ่งมีน้อยขึ้นไปอีก สาเหตุมีอยู่หลายประการนับตั้งแต่การขาดแคลนหนังสือที่ดีและตรงกับความต้องการของผู้อ่าน การขาดแคลนแหล่งหนังสือที่จะยืมอ่านได้ ไปจนถึงการดึงความสนใจและการแย่งเวลาของสื่ออื่น ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ฯลฯ รวมทั้งขาดแรงจูงใจ และการชักจูง การกระตุ้น และมีนิสัยรักการอ่านทั้งในและนอกโรงเรียน เมื่อเทียบกับความเพลิดเพลินและการได้ฟังได้รู้เห็นเรื่องต่าง ๆ จากโทรทัศน์และวิทยุแล้ว การอ่านหนังสือเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวต้องใช้ความพยายามมากกว่าและต้องมีทักษะในการอ่าน ถ้าจะให้การอ่านหนังเกิดเป็นนิสัยจำเป็นต้องมีการปลูกฝังและชักชวนให้เกิดความสนใจการอ่านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักอ่าน ซึ่งควรมีลักษณะ ดังนี้
1. เร้าใจให้เกิดความยากอ่านหนังสือ
2. ให้เกิดความพยายามที่จะอ่านเพื่อจะได้รู้เรื่องที่น่ารู้ที่มีอยู่ในหนังสือ และน่าสนุกตามกิจกรรมที่จัดขึ้น
3. แนะนำ กระตุ้นให้อยากรู้อยากเห็นเรื่องน่ารู้ต่าง ๆ เกิดความรอบรู้ คิดกว้าง และมีการอ่านต่อเนื่องจนเป็นนิสัย
4. สร้างบรรยากาศที่น่าอ่าน รวมทั้งให้มีวัสดุการอ่าน มีแหล่งการอ่านที่เหมาะสมและเพียงพอ
คำขวัญตำบลบ้านชัย
วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2566
แหล่งเรียนรู้ หมวดส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ / บ้านรักการอ่าน
แหล่งเรียนรู้ หมวดศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี/หมอสูติหมอพาร์หมประจำหมู่บ้าน
"พราหมณ์" หรือที่คนอีสานเรียกกันว่า "หมอพราหมณ์" เปรียบเสมือนผู้นำทางจิตวิญญาณ และผู้นำทางพิธีกรรมเพื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆ เสริมความเป็นสิริมงคล และเชื่อมผู้คนในชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียว สัปดาห์นี้ที่นี่บ้านเรา โดยสื่อสร้างสุขอุบลราชธานี จะพาไปติดตามชีวิตหมอพราหมณ์พื้นบ้าน จาก อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี ที่เรียกได้ว่าอาจจะเป็นหมอพราหมณ์รุ่นสุดท้ายของหมู่บ้านก็เป็นได้ เมื่อปัจจุบันยังมองไม่ออกว่าจะมีหมอพราหมณ์คนใดเข้ามามาสืบทอดบทบาทเหล่านี้ต่อในอนาคต เมื่อหากไร้ผู้ซึ่งสืบทอดการเป็นหมอพราหมณ์แล้วในวันข้างหน้าประเพณีวัฒนธรรมโดยเฉพาะของชาวอีสานจะดำเนินต่อไปอย่างไร..
แหล่งเรียรรู้ หมวดภูมิปัญญาหรือปราชญ์ชาวบ้าน/ด้านการจักสาน
แหล่งเรียรรู้ หมวดภูมิปัญญาหรือปราชญ์ชาวบ้าน/ด้านการจักสาน
ความเป็นมาของงานจักสาน
การทำเครื่องจักสานในประเทศไทย มีการทำสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์นักโบราณคดีได้พบหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการทำเครื่องจักสานในยุคหินใหม่ที่บริเวณถ้ำแห่งหนึ่งในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่เป็นลายขัดสองเส้นประมาณว่ามีอายุราว 4,000 ปีมาแล้ว
การทำเครื่องจักสานยุคแรก ๆ มนุษย์จะนำวัตถุดิบจากธรรมชาติเท่าที่จะหาได้ใกล้ตัวมาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การนำใบไม้ กิ่งไม้ ต้นไม้ประเภทเถานำมาสานมาขัดเป็นรูปทรงง่ายๆ เพื่อใช้เป็นภาชนะหรือมาสานขัดกันเป็นแผ่นเพื่อใช้สำหรับปูรองนั่ง รองนอน ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นเครื่องจักสานที่มีความประณีตในยุคต่อๆ มา เครื่องจักสานเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มนุษย์คิดวิธีการต่างๆ ขึ้นเพื่อใช้สร้างเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันด้วยวิธีการสอดขัดและสานกันของวัสดุ ที่เป็นเส้นเป็นริ้ว โดยสร้างรูปทรงของสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นนั้นตามความประสงค์ในการใช้สอยตามสภาพภูมิศาสตร์ ประสานกับขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อศาสนาและวัสดุในท้องถิ่นนั้นๆ
การเรียกเครื่องจักสานว่า “จักสาน” นั้น เป็นคำที่เรียกขึ้นตามวิธีการที่ทำให้เกิดเครื่องจักสาน เพราะเครื่องจักสานต่างๆ จะสำเร็จเป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ได้นั้นต้องผ่านกระบวนการ ดังนี้
1. การจัก คือการนำวัสดุมาทำให้เป็นเส้น เป็นแฉก หรือเป็นริ้วเพื่อความสะดวกในการสาน ลักษณะของการจักโดยทั่วไปนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของวัสดุแต่ละชนิดซึ่งจะมีวิธีการเฉพาะที่แตกต่างกันไป หรือบางครั้งการจักไม้ไผ่หรือหวายมักจะเรียกว่า “ตอก” ซึ่งการจักถือได้ว่าเป็นขั้นตอนของการเตรียมวัสดุในการทำเครื่องจักสานขั้นแรก
2. การสาน เป็นกระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่นำวัสดุธรรมชาติมาทำประโยชน์โดยใช้ความคิดและฝีมือมนุษย์เป็นหลัก การสานลวดลายจะสานลายใดนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้สอย ซึ่งมีด้วยกัน 3 วิธี คือ – การสานด้วยวิธีสอดขัด – การสานด้วยวิธีการสอดขัดด้วยเส้นทแยง – การสานด้วยวิธีขดเป็นวง
3. การถัก เป็นกระบวนการประกอบที่ช่วยให้การทำครื่องจักสานสมบูรณ์ การถักเครื่องจักสาน เช่น การถักขอบของภาชนะจักสานไม้ไผ่ การถักหูภาชนะ เป็นต้น การถักส่วนมากจะเป็นการเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างภายนอก เช่น ขอบ ขา ปาก ก้น ของเครื่องจักสาน และเป็นการเพิ่มความสวยงามไปด้วย